Category Archives: Cloud Computing and SaaS

ถ้าต้องการเก็บข้อมูลสำคัญไว้ 20 ปี ปีละ 98 GB เลือกใช้ Nas หรือ บน Cloud Storage ดี

ถ้าต้องการเก็บข้อมูลสำคัญไว้ 20 ปี ปีละ 98 GB เลือกใช้ Nas หรือ บน Cloud Storage ดี คำตอบ Cloud ครับ 100 GB 20ปี ประมาณ 3TB ลองเอาค่าเช่า cloud หารกับ ค่า nas +HD4 tb ประมาณ 4ลูกครับ หรือ เก็บใส่ internal hdd ไว้ครับ กันความเสียง โดยเปลี่ยน hdที่เก็บ ทุก 5 ปี การเก็บข้อมูลแบบสะสมระยะยาว 20 ปี จะเป็นลักษณะ Archive มากกว่า Backup and Recovery แบบกู้คืนระบบ การเก็บแบบ Archive จะเน้นเก็บสะสมนานๆ เป็นสิบๆปี… Read More »

NetApp ขยายโซลูชันระบบคลาวด์แบบไฮบริด เพื่อเติมเต็มศักยภาพชั้นยอดของระบบคลาวด์

การอัปเดตระบบคลาวด์แบบไฮบริดใหม่เร่งความแรงให้การปฏฺิรูประบบดิจิทัล โดยการมอบประสิทธิภาพขั้นสูงสุดให้แก่องค์กร ทั้งในด้านต้นทุน ความสามารถในการปรับขนาด ความคล่องตัว และความเร็ว

วีเอ็มแวร์ชู “บริการแพลตฟอร์มปฏิบัติการคลาวด์” (Cloud Operations Services) ใหม่ สำหรับจัดการมัลติคลาวด์ พร้อมช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล

บริการด้านคลาวด์แบบ SaaS ของวีเอ็มแวร์ มอบแพลตฟอร์มคลาวด์แบบ Multi-based SaaS ที่จะช่วยจัดการระบบคลาวด์ให้ทำงานได้อัตโนมัติ, วิเคราะห์การทำงาน, จัดการค่าใช้จ่าย และจัดการคลาวด์ให้เป็นไปตามข้อบังคับขององค์กร กรุงเทพฯ 17 กันยายน 2561 –  ที่งานวีเอ็มเวิลด์ 2018 (VMworld 2018) วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) เปิดตัว วีเอ็มแวร์ คลาวด์ เซอร์วิส (VMware Cloud Services) ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ความท้าทายขององค์กรธุรกิจที่มีการใช้งานคลาวด์จากหลากหลายผู้ให้บริการหรือที่เรียกว่าการใช้งานแบบ “มัลติคลาวด์” (multi-cloud) ซึ่งจะช่วยให้ทีมต่างๆ ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น ปฏิบัติการคลาวด์ ทีม DevOps ทีมรักษาความปลอดภัย และทีมที่จัดการเรื่องข้อบังคับขององค์กร สามารถทำงานร่วมกันเพื่อจัดการค่าใช้จ่ายด้านคลาวด์ การดำเนินงาน การรักษาความปลอดภัย รวมถึงจัดการระบบให้เป็นไปตามข้อบังคับขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น บริการแพลตฟอร์มปฏิบัติการคลาวด์แบบ SaaS ของวีเอ็มแวร์ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ ประกอบไปด้วย บริการ cloud automation ใหม่, VMware… Read More »

ฟอร์ติเน็ตจัดความปลอดภัยที่แข็งแกร่งขึ้นให้แก่ลูกค้าบน Google Cloud Platform

ขยายศักยภาพของผืนผ้าความปลอดภัยซึเคียวริตี้แฟบริค เพื่อเชื่อมโยงการป้องกันภัยในไฮบริดคลาวด์ได้ทั้งหมด กรุงเทพฯ 25 กรกฎาคม 2561 ในปัจจุบัน ทุกคนรู้จักกูเกิ้ล (Google) และรู้ว่ากูเกิ้ลให้บริการด้านคลาวด์แก่ลูกค้าและองค์กรต่างๆ บนคลาวด์แพลทฟอร์ม (Google Cloud Platform: GCP) ของตนและเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น ลูกค้าองค์กรที่ต้องการใช้ GCP นั้นมักสนใจใช้คุณสมบัติเฉพาะของแพลทฟอร์ม GCP ที่มาพร้อมกับลักษณะที่เป็นเครือข่ายกว้างไกลครอบคลุมทั่วโลก มีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเบ็ดเสร็จ และสามารถจัดการข้อมูลบิ๊กดาต้าบนแพลตฟอร์ม GCP ได้อย่างเสร็จสรรพ จึงมีธุรกิจประเภทที่มีหลายสาขา เช่น ธุรกิจเครือข่ายค้าปลีก ประกันภัยและผู้ให้บริการสาธารณสุขรวมถึงองค์กรที่ได้ใช้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งจากผู้ค้าอุปกรณ์หลายค่าย มาใช้งานมากยิ่งขึ้น ซึ่งต่างมีวัตถุประสงค์ให้ GCP เป็นศูนย์กลางการจัดการ เพื่อลดปัญหาเรื่องความห่างไกลของสาขาและความแตกต่างของผู้ค้าอุปกรณ์ไอทีลงไป

วีเอ็มแวร์ เผยวิสัยทัศน์สู่อนาคตของระบบเน็ตเวิร์ก เพื่อช่วยให้องค์กรในประเทศไทย เข้าสู่ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ได้อย่างรวดเร็ว

เวอร์ช่วล คลาวด์ เน็ตเวิร์ก คือ สถาปัตยกรรมระบบเครือข่ายแห่งอนาคตที่ควบคุมได้ด้วยซอฟต์แวร์ เพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยให้กับแอพพลิเคชั่นการทำงานต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงไม่ว่าจะใน ศูนย์ข้อมูล (Data Center)  สาขา (Branch) คลาวด์ (Cloud) ไปจนถึงปลายทางของระบบเน็ตเวิร์ก (Edge)

ฮิตาชิสนับสนุนให้ลูกค้าเดินหน้าเข้าสู่ระบบคลาวด์แบบไฮบริดได้เร็วขึ้น ด้วยข้อเสนอ Hitachi Unified Compute Platform ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม

ข้อเสนอ Hitachi UCP RS ใหม่นี้ผสานรวมกับการทำงานของ VMware Cloud Foundation เพื่อให้การปรับใช้ระบบคลาวด์แบบไฮบริดเป็นเรื่องง่าย   บริษัท ฮิตาชิ ดาต้าซิสเต็มส์ (เอชดีเอส) ธุรกิจในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE:6501) และพันธมิตรโออีเอ็มแห่งปีด้านนวัตกรรมของวีเอ็มแวร์โกลบอล (VMware Global Innovation OEM Partner) ได้เปิดตัว Hitachi Unified Compute Platform (UCP) RS Series

วีเอ็มแวร์ นำเสนอวิสัยทัศน์ในโลกของการใช้งานแอพพลิเคชั่นบนคลาวด์ที่หลากหลาย

ที่งาน VMworld® 2017 วีเอ็มแวร์ อิงค์ (NYSE: VMW) ผู้นำระดับโลกด้านโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์และบิสสิเนสโมบิลิตี้ได้ประกาศกลยุทธ์คลาวด์ล่าสุด พร้อมเผยระบบรักษาความปลอดภัยแบบใหม่ของบริษัท รวมถึงประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

การนำ Hitachi Content Platform มาช่วยองค์กรแปรรูปสู่ระบบดิจิทัล

เมื่อถึงเวลาที่องค์กรต้องแปรรูปกระบวนการทำงานให้เป็นระบบดิจิทัล วัฒนธรรมองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าเทคโนโลยี โดยที่การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงนั้นจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับบุคคลากรและกระบวนการทำงาน การแปรรูปสู่ระบบดิจิทัลไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืนจากนโยบายสั่งการขององค์กร และขั้นตอนการแปรรูปนั้นไม่สามารถบังคับให้ฝ่ายพัฒนาแอปพลิเคชั่นและฝ่ายปฏิบัติการด้านไอทีทำงานร่วมกันได้ แต่การสร้างวัฒนธรรมองค์กรและนำโซลูชั่นที่เหมาะสมมาใช้จะช่วยให้เกิดวัฒนธรรม DevOps (Development Operation) ที่เป็นการรวมกันของเทคโนโลยีที่เหมาะสม และทัศนคติของกลุ่มคนทำงานที่เกี่ยวข้อง มาช่วยทำให้การพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชั่นธุรกิจมีวิวัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อสนับสนุนระบบไอทีในรูปแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยธุรกิจได้

เทรนด์เทคโนโลยีปี 2560 ที่องค์กรธุรกิจในประเทศไทยควรจับตามอง

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นการปรับใช้เทคโนโลยีทั่วภูมิภาคอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดริเริ่มในการพัฒนา สมาร์ท ซิตี้ และเศรษฐกิจ ดิจิตอล ที่รัฐบาลในภูมิภาคอาเซียนพยายามผลักดันเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งในประเทศไทยรัฐบาลก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเช่นกัน เช่นแผนการพัฒนาเมืองภูเก็ตให้กลายเป็น สมาร์ท ซิตี้ ภายในปี 2563 ภายใต้แนวคิด “Smile Smart and Sustainable Phuket“

เดินทางสู่การใช้คลาวด์อย่างปลอดภัยกับ เทรนด์ ไมโคร

   โดย นายคงศักดิ์ ก่อตระกูล  ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัท เทรนด์ ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด ในขณะที่องค์กรส่วนใหญ่กำลังมุ่งหน้าสู่การใช้งานบนระบบคลาวด์ด้วยวิธีการ ที่แตกต่างกัน และดาต้าเซ็นเตอร์ของแต่ละองค์กรก็กำลังปรับเปลี่ยนจากระบบเดิมไปเป็นระบบ เสมือนหรือบนระบบคลาวด์ ความท้าทายขององค์กรคือจะเก็บข้อมูลของตนให้ปลอดภัยบนระบบใหม่ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร